กินแคลเซียมอย่างไร ให้ลูกตัวสูงสมวัย

แคลเซียมเด็ก

        แคลเซียมนั้นถือว่ามีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของเด็ก โดยเฉพาะเรื่องความแข็งแรงของกระดูกที่ช่วยให้เด็กเจริญเติบโตสมวัย สูงตามเกณฑ์มาตรฐาน แต่เด็กไทยส่วนใหญ่มักดื่มนมน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ ทำให้เด็กหลาย ๆ คน เกิดภาวะขาดแคลเซียม จึงส่งผลต่อความสูงและการเจริญเติบโตตามวัยของเด็ก ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนกังวลเรื่องความสูงของลูก อยากให้ลูกสูงต้องทำอย่างไร? ถ้าให้ลูกดื่มนมเยอะ ๆ ลูกจะสูงขึ้นจริงไหม? สามารถหาคำตอบได้จากบทความนี้เลยค่ะ

ทำไมแคลเซียมถึงจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

        แคลเซียมถือเป็นอีกหนึ่งแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กที่อยู่ในช่วงเจริญเติบโต เพราะแคลเซียมเป็นส่วนประกอบหลักของกระดูกและฟัน ช่วยให้กระดูกแข็งแรง สูงยาว และป้องกันโรคกระดูกพรุนในอนาคต อีกทั้งแคลเซียมยังมีบทบาทสำคัญในการทำงานของกล้ามเนื้อ ประสาท และหัวใจอีกด้วย

ปริมาณแคลเซียมเท่าไหร่ ที่เด็กควรได้รับในแต่ละช่วงวัย

        ความต้องการแคลเซียมของเด็กแตกต่างกันตามช่วงอายุ จากงานวิจัยจากโรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ ดังนี้

  • ทารก 0-6 เดือน ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 200 มิลลิกรัม/วัน
  • ทารก 6-12 เดือน ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 260 มิลลิกรัม/วัน
  • เด็ก 1-3 ปี ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 700 มิลลิกรัม/วัน
  • เด็ก 4-8 ปี ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม/วัน
  • เด็ก 9-18 ปี ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัม/วัน
  • เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ที่ต้องการแคลเซียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัม/วัน จะเห็นได้ว่าเด็กในช่วงวัยเจริญเติบโตต้องการแคลเซียมในปริมาณที่สูงกว่าผู้ใหญ่ซะอีก

 

ข้อมูลอ้างอิง:

www.synphaet.co.th/children-ramintra
https://www.dop.go.th/th/news/1/3619

แหล่งอาหารที่ช่วยเพิ่มแคลเซียมให้เด็ก

อาหารเพิ่มแคลเซียมให้เด็ก
  1. นมและผลิตภัณฑ์จากนม นมวัว นมถั่วเหลือง โยเกิร์ต ชีส ถือเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีเยี่ยม
  2. ผักใบเขียวเข้ม ผักคะน้า บรอกโคลี ตำลึง คะน้า ผักกระเฉด 
  3. อาหารทะเล ปลาตัวน้อยที่กินได้ทั้งก้าง กุ้ง กุ้งแห้ง
  4. ถั่วต่างๆ ถั่วเหลือง ถั่วดำ
  5. ผลไม้ ส้ม ส้มเขียวหวาน

สาเหตุที่ทำให้เด็กขาดแคลเซียม

  1. การรับประทานอาหารที่ขาดแคลเซียม เด็ก ๆ ไม่ชอบรับประทานอาหารประเภทนม และผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียว เต้าหู้ ปลาตัวน้อย และถั่วต่างๆ อาจทำให้ขาดแคลเซียม
  2. ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ไม่ดี ปัจจัยหลายอย่างสามารถส่งผลต่อการดูดซึมแคลเซียมได้ เช่น ท้องเสียบ่อย ขาดวิตามินดี ซึ่งจำเป็นต่อการดูดซึมแคลเซียม หรือการรับประทานอาหารที่มีสารยับยั้งการดูดซึมแคลเซียม เช่น ออกซาเลตในผักบางชนิด
  3. รับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง หรืออาหารรสเค็มจัด การกินอาหารที่มีรสเค็มซึ่งมีส่วนประกอบของโซเดียมสูง เช่น อาหารแปรรูป (ไส้กรอก แฮม เบคอน ) อาหารสำเร็จรูป (บะหมี่สำเร็จรูปทุกชนิด ซุปก้อน) อาหารที่มีส่วนประกอบของผงฟู (ขนมปังขาว คุกกี้ช็อกชิพ เค้กสปันจ์ เค้กช็อกโกแลต) สารกันบูด (ไส้กรอก แฮม เบคอน) และอาหารกระป๋อง (ผักกระป๋อง ปลากระป๋อง ผลไม้กระป๋อง) ส่งผลให้สูญเสียแคลเซียมผ่านทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น เนื่องจากแคลเซียมในเลือดนั้นถูกขับออกจากร่างกายไปพร้อมกับการกำจัดโซเดียมด้วยเช่นกัน จึงควรเลือกอาหารที่รสไม่จัด ปรุงน้อย ๆ เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับรสธรรมชาติของอาหาร ไม่ทานอาหารรสจัดจนเกินไป
  4. ความต้องการแคลเซียมของเด็กสูง ในช่วงวัยเด็ก โดยเฉพาะช่วงวัยกำลังเจริญเติบโต ร่างกายมักมีความต้องการแคลเซียมสูงมาก เพื่อใช้ในการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง หากเด็กอยู่ในช่วงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และไม่ได้รับแคลเซียมเพียงพอ อาจอยู่ในภาวะขาดแคลเซียมได้
  5. โรคต่าง ๆ โรคไต โรคตับ หรือโรคทางเดินอาหาร อาจส่งผลต่อการดูดซึมแคลเซียม และทำให้เด็กขาดแคลเซียมได้

ผลกระทบของการขาดแคลเซียมในเด็ก

แคลเซียมเพิ่มความสูงเด็ก
  1. กระดูกและฟันไม่แข็งแรง แคลเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน เด็กที่ขาดแคลเซียมมีปัญหาเรื่องกระดูกเปราะ โรคกระดูกอ่อน ฟันผุ หรือฟันห่างได้
  2. สูงช้า มีความสูงต่ำกว่าเกณฑ์ แคลเซียมมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกระดูก หากขาดแคลเซียม เด็กอาจเจริญเติบโตช้า และมีความสูงห่างกับเพื่อนในชั้นเรียนเดียวกัน แต่ความสูงของเด็กนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน การนอนหลับ และการออกกำลังกาย เป็นต้น
  3. กล้ามเนื้ออ่อนแรง แคลเซียมมีบทบาทในการควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ หากขาดแคลเซียมกล้ามเนื้ออาจอ่อนแรงและเกิดอาการตะคริวได้
  4. เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนในวัยผู้ใหญ่ การขาดแคลเซียมในวัยเด็ก อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่ออายุมากขึ้น

สัญญาณการขาดแคลเซียมในเด็ก

  • กล้ามเนื้อกระตุก หรือเป็นตะคริวบ่อย
  • ฟันผุง่าย หรือเจริญเติบโตช้า
  • กระดูกอ่อนแอ กระดูกหักง่าย
  • การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ

เสริมแคลเซียมให้ลูกน้อยด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียม

        สำหรับเด็กที่ได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ หรือพบเจอปัญหาลูกไม่ชอบดื่มนม กินอาหารยาก อาจเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียม อย่าง “แคลเซียมเม็ดเคี้ยว” รสบราวนี่วนิลา Klarins Kids Calcium Plus Protein&DHA เป็นวิตามินเสริมอาหาร มีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกและฟัน เพิ่มความสูง บำรุงสมอง พร้อมเสริมสร้างกล้ามเนื้อ โดยมีสารสกัดหลัก Calcium L-Threonate เกรดพรีเมียมนำเข้าจากอเมริกา สามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้มากกว่าแคลเซียมรูปแบบทั่วไปถึง 80% และ มีโปรตีนแท้สกัดจากนมวัว และ DHA สกัดจากปลาทูน่าทะเลน้ำลึกนำเข้าจากออสเตรเลีย โดยมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เสริมสร้างสมาธิ เรียนรู้ไว ที่ช่วยเพิ่มส่วนสูง เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยเสริมสมาธิช่วยให้เรียนรู้ไว ช่วยบำรุงสมอง ปราศจากสารกันเสีย และ ปราศจากไขมันทรานส์ ช่วยเสริมสร้างแคลเซียมให้ลูกน้อยสูงทันเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน

แคลเซียม Klarins Kids Calcium Plus Protein&DHA

วิธีเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียมอย่างไรให้ปลอดภัย

  1. ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อประเมินความจำเป็นและความเหมาะสมในการทานแคลเซียม
  2. เลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น อย. หรือ FDA 
  3. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณแคลเซียมเหมาะสมตามช่วงอายุของเด็ก 
  4. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีวิตามินดีผสมอยู่ด้วย เพราะวิตามินดีช่วยเพิ่มการดูดซึมของแคลเซียมได้ดี
  5. ระวังผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาล หรือสารให้ความหวานมากเกินไป
  6. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีวันหมดอายุยาวพอสมควร และเก็บรักษาตามคำแนะนำบนฉลาก

        แคลเซียมถือเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็ก คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้เด็ก ๆ ได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอ เพราะจะช่วยให้ลูกน้อยมีกระดูกและฟันที่แข็งแรง สูงตามเกณฑ์ และมีสุขภาพแข็งแรง ฉะนั้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงควบคู่ไปกับการออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์

คำถามที่พบบ่อย

  • Q: หากเด็กแพ้นมวัว จะได้รับแคลเซียมอย่างไร?

A: เด็กที่แพ้นมวัวสามารถรับแคลเซียมจากแหล่งอื่น เช่น ผักใบเขียว เต้าหู้ อาหารทะเล หรือผลิตภัณฑ์ทดแทนนมที่เสริมแคลเซียม 

  • Q: การออกกำลังกายมีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมอย่างไร?

A: การออกกำลังกายโดยเฉพาะกิจกรรมที่มีการออกแรง หรือลงน้ำหนัก จะช่วยกระตุ้นการสร้างมวลกระดูก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น

  • Q: ผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากการกินแคลเซียมเม็ด

A: ท้องอืด แน่นท้อง ท้องผูก อาหารไม่ย่อย 

  • Q: การดื่มนมช่วยให้ลูกสูงขึ้นจริงหรือไม่? เป็นคำถามที่พ่อแม่หลายท่านสงสัยกันค่ะ

A: จริง ๆ แล้ว การดื่มนมเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ลูกสูงขึ้นได้ เพราะนมเป็นแหล่งโปรตีนที่อุดมไปด้วยแคลเซียม และวิตามินดีที่สำคัญสำหรับการสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความสูงของเด็กได้เช่นกัน อย่าง พันธุกรรม อาหารการกินที่หลากหลาย การออกกำลังกาย การพักผ่อนที่เพียงพอ และสุขภาพโดยรวม ต่างก็มีส่วนสำคัญในการช่วยให้เด็กสูงขึ้นเช่นกันค่ะ

  • Q: ทำไมวิตามินดีถึงสำคัญต่อการดูดซึมแคลเซียม?

A: วิตามินดี ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ร่างกายสามารถนำแคลเซียมมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดยมีกลไกการทำงานดังนี้

  1. ช่วยกระตุ้นการผลิตโปรตีน เมื่อร่างกายได้รับวิตามินดีเพียงพอ จะกระตุ้นให้ลำไส้เล็กผลิตโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า คาลซิทริออล (Calcitriol) ซึ่งโปรตีนตัวนี้มีหน้าที่หลักในการช่วยดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากอาหารที่เราทานเข้าไปเข้าสู่กระแสเลือด
  2. ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด คาลซิทริออลยังช่วยควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หากระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ คาลซิทริออลจะกระตุ้นให้ร่างกายดึงแคลเซียมจากกระดูกออกมาใช้ เพื่อรักษาระดับแคลเซียมในเลือดให้คงที่

ถึงแม้ว่าเราจะได้รับแคลเซียมมาอย่างเพียงพอ แต่ถ้าร่างกายขาดวิตามินดี ก็จะไม่สามารถนำแคลเซียมไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ 

  • Q: Calcium L-Threonate ดีกว่า Calcium Carbonate/ Calcium Phosphate อย่างไร?

A: แคลเซียม L-Threonate เป็นรูปแบบของแคลเซียมที่มีความโดดเด่นกว่าแคลเซียมคาร์บอเนตหรือแคลเซียมฟอสเฟตที่พบได้ทั่วไปในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั่วไป ซึ่งมีจุดเด่นอยู่ที่การดูดซึมเข้าสู่เซลล์สมองได้ดีกว่า มีส่วนช่วยส่งเสริมสุขภาพสมอง ช่วยในเรื่องความจำและการเรียนรู้ ทั้งยังมีแนวโน้มที่ทำเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าแคลเซียมชนิดอื่น เช่น ท้องอืด ท้องผูก ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ที่รับประทานแคลเซียมคาร์บอเนต

สินค้าที่เกี่ยวข้อง